เสริมสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตให้ธุรกิจด้วย HUAWEI Ecosystem หัวเว่ยนำเสนอ HUAWEI Ecosystem เพื่อการก้าวเข้าสู่ยุค AI อย่างสมบูรณ์แบบ ในงาน APAC HUAWEI Developer Day
Huawei Mobile Services (HMS) ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจกว่า 150 ราย ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจัดงาน APAC HUAWEI Developer Day (AHDD) เป็นครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสนี้หัวเว่ยประกาศวิสัยทัศน์ในการสร้างอีโคซิสแบบเปิดซึ่งช่วยให้การใช้ชีวิตของผู้ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้นในทุกขณะและเชื่อมโยงผ่านเทคโนโลยีอันล้ำสมัยเข้ากับทุกอุปกรณ์หรือบริการได้อย่างราบรื่น เช่น HMS ซึ่งเป็นบริการแบบเปิด สมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ของหัวเว่ย เครือข่าย 5G และแอปพลิเคชันที่ทำงานโดยใช้คุณสมบัติของ AI เป็นหัวใจสำคัญ
หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ยังเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่องในตลาดโลก ปัจจุบันหัวเว่ยเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอันดับ 2 ของโลก โดยมียอดจัดส่งสมาร์ทโฟนระหว่างเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2019 มากกว่า 200 ล้านเครื่อง นอกจากนี้ยอดจัดส่งผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเติบโตขึ้น 214% จากปีก่อน อุปกรณ์สมาร์ทออดิโอเติบโตขึ้น 233% จากปีก่อน และ Wearable Devices ได้ก็มีอัตราการเติบโตขึ้น 272% จากปีก่อน
จาง ผิงอัน ประธานกลุ่มธุรกิจ Huawei Consumer Cloud Service กล่าวว่า “ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำเสนอ HUAWEI Ecosystem เนื่องจากเราเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมมาตลอด 3 ทศวรรษ หัวใจสำคัญของ HUAWEI Ecosystem คือ HMS และระบบนิเวศนี้ยังสอดคล้องกับกลยุทธ ‘1+8+N’ ของเราเมื่อพันธมิตรเลือกใช้แพลตฟอร์มของเราเพื่อการดำเนินธุรกิจ ลูกค้าจะสามารถสัมผัสนวัตกรรมดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบผ่านการใช้งานต่างๆ ในอีโคซิสเต็มของเรา”
สมาร์ทโฟนจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง (1) ตามหลักการของกลยุทธ ‘1+8+N’ และพันธมิตรทางธุรกิจของหัวเว่ยจะเข้าถึง ผู้ใช้ได้ผ่านอุปกรณ์ของหัวเว่ยจำนวน 8 กลุ่มเพื่อสร้างระบบ IoT ที่ทุกอุปกรณ์เชื่อมโยงกันและรองรับบริการต่างๆ ได้นับอนันต์ (N)
“เพื่อประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด HMS จะเป็นเสมือนตัวกลางและเครื่องมือจัดการอุปกรณ์ แอปพลิเคชัน
และโปรไฟล์ของผู้ใช้หรือบริการต่างๆ ใน HUAWEI Ecosystem ทั้ง HUAWEI Ecosystem และ HMS จะสามารถช่วยให้แนวคิดการใช้ชีวิตโดยมี AI เป็นองค์ประกอบสำคัญในทุกขณะเป็นจริงได้เมื่อใช้งานร่วมกับเครือข่าย 5G ที่ทำงานโดยใช้อุปกรณ์ระบบของหัวเว่ย รวมไปถึงระบบที่มี AI ในการควบคุมและ Cloud computing solution” คุณจางกล่าวเพิ่มเติม
HUAWEI Ecosystem เป็นระบบนิเวศที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของ HMS ในตลาดโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้ HMS กว่า 570 ล้านคนใน 170 ประเทศทั่วโลก ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2019 บริการ HUAWEI AppGallery มีผู้ใช้งานรายเดือน ทะลุ 390 ล้านคนและมียอดดาวน์โหลดรวมถึง 180,000 ล้านครั้งภายใน 1 ปีหลังจากเปิดบริการสู่ผู้ใช้ทั่วโลกเมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นักพัฒนากว่า 1.07 ล้านคนทั่วโลกลงทะเบียนเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้ HMS และมีแอปพลิเคชันกว่า 50,000 แอปพลิเคชันที่ผสานเข้ากับ HMS Core อย่างสมบูรณ์ สามารถทำงานได้กับสมาร์ทดีไวซ์ของหัวเว่ยทุกชิ้น
โดย HMS พร้อมนำเสนอบริการอีกมากในตลาดภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) เช่น HUAWEI ID, HUAWEI Mobile Cloud, HUAWEI AppGallery, Themes, HUAWEI Music และ HUAWEI Assistant
“หัวเว่ยมีแผนการดำเนินงานมากมายเพื่อรักษาการเติบโตและนำเสนอบริการใหม่ๆ ที่ทันสมัยให้กับพันธมิตรของเรา หัวเว่ยยังจะนำเสนอทรัพยากรต่างๆ เพิ่มอีกมากในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อช่วยเหลือนักพัฒนาและผู้ผลิตเนื้อหาต่างๆ ให้สามารถนำเสนอผลงานสู่ผู้ใช้ทั่วโลกได้” คุณจางกล่าวเสริม
ตัวอย่างของบริการจาก HMS ที่สามารถใช้งานได้ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกประกอบด้วย
HUAWEI AppGallery คือแพลตฟอร์มสำหรับเผยแพร่แอปพลิเคชันต่างๆ ของหัวเว่ยใน 170 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก มีผู้ใช้งานรายเดือนกว่า 390 ล้านคนนับตั้งแต่ที่ HUAWEI AppGallery เปิดให้ใช้งานทั่วโลกตั้งแต่เดือนเมษายน 2018 ที่ผ่านมา
HUAWEI Browser มีผู้ใช้รายเดือนกว่า 200 ล้านคน โดยนักพัฒนาสามารถนำเสนอบริการต่างๆ ผ่าน HUAWEI Browser ได้โดยตรงโดยใช้คุณสมบัติ HUAWEI Ability Gallery
HUAWEI Assistant นำเสนอฟีดข่าวส่วนบุคคล การแจ้งเตือนนัดหมายในปฏิทิน และอื่นๆ อีกมากมาย โดยนักพัฒนาสามารถเชื่อมโยงบริการเข้ากับ HUAWEI Assistant ได้เพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานรายเดือนจำนวน 160 ล้านคน
HUAWEI Mobile Cloud จะใช้งานได้ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกภายในเดือนพฤศจิกายนศกนี้ โดยผู้ใช้งานจะได้รับพื้นที่บนคลาวด์ขนาด 5GB โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
Quick App ช่วยให้ใช้งานแอปพลิเคชันได้โดยไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลด ปัจจุบันมีนักพัฒนากว่า 2,500 รายที่ได้เชื่อมโยงบริการกับแพลตฟอร์มนี้ และมีแอปพลิเคชันถึง1,000 แอปพลิเคชันในตลาดประเทศจีนที่รองรับคุณสมบัตินี้ โดยในขณะนี้นักพัฒนาทั่วโลกสามารถใช้งาน Quick App IDE ได้แล้ว
ผสานการทำงานระหว่างชิปเซ็ต-อุปกรณ์-ระบบคลาวด์ ช่วยให้ภาคธุรกิจได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่าบน HMS
HMS เริ่มรองรับการผสานการทำงานระหว่างชิปเซ็ต-อุปกรณ์-ระบบคลาวด์สำหรับนักพัฒนาผ่านเว็บไซต์ HUAWEI Developer เพื่อเสริมสร้างการเติบโตของอีโคซิสเต็มอัจฉริยะ โดยนักพัฒนาได้รับอนุญาตให้เข้าถึงบริการต่างๆ สำหรับนักพัฒนา เช่น HMS Core, HMS Capabilities และ HMS Connect
คุณจางอธิบายว่า “การผสานการทำงานระหว่างชิปเซ็ต-อุปกรณ์-ระบบคลาวด์เป็นเครื่องมือที่ผสานการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเชื่อมโยงบริการของตนกับหัวเว่ยอีโคซิสเต็มได้อย่างสะดวก HMS ประกอบไปด้วยความสามารถในทุกสถานการณ์ที่พร้อมช่วยเหลือนักพัฒนาในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การพัฒนา การทดสอบ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการหารายได้ สำหรับหัวเว่ยอีโคซิสเต็ม นักพัฒนาแค่ผสานแอปพลิเคชันเพียงครั้งเดียวจะสามารถเผยแพร่ได้ในทุกแพลตฟอร์มบนทุกสมาร์ทดีไวซ์ของหัวเว่ย เพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานทั่วโลกได้ หัวเว่ยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบริการของเราจะช่วยอำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาสามารถทุ่มเทให้กับการพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างเต็มที่และสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อช่วยยกระดับแพลตฟอร์มแบบเปิดของเราไปอีกขั้น”
HMS Core เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกรอบการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานกับอุปกรณ์ของหัวเว่ยได้ โดยชุดอุปกรณ์พัฒนาซอฟต์แวร์นี้จะช่วยย่นระยะเวลาและลดงบประมาณในการพัฒนา
แอปพลิเคชันได้
ในงาน AHDD นี้ หัวเว่ยประกาศว่าปัจจุบันมี HMS Core 24 ชุด บริการ 55 บริการ และ API 997 ตัว
ที่นักพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะสามารถใช้งานได้ภายในปี 2020 ตัวอย่างของ HMS Core ชุดใหม่คือ Map Kit, Location Kit, Awareness Kit, Scan Kit, Quick App และอื่นๆ อีกมากมายที่พร้อมจะครอบคลุมทุกความต้องการของนักพัฒนา
HMS Core ยังมีคุณสมบัติอีกมากสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการเพิ่มจำนวนผู้ใช้หรือเพิ่มรายได้จากบริการของตน ตัวอย่างเช่น ชุด Analytics Kit ที่หัวเว่ยภูมิใจนำเสนอล่าสุดพร้อมช่วยให้นักพัฒนาสามารถค้นหาข้อมูลเชิงลึกของแอปพลิเคชันที่ตนต้องการได้ ช่วยให้นักพัฒนาสามารถปรับปรุงแอปพลิเคชันของตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมี HUAWEI Map Kit ที่รองรับการทำงานใน 150 ประเทศและ 40 ภาษา ชุด HUAWEI Map Kit นี้ช่วยตรวจสอบข้อมูลสภาพถนนแบบเรียลไทม์ และช่วยให้การปรับแต่งข้อมูลแผนที่เป็นไปได้โดยง่าย
HUAWEI Ability Gallery เป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับการผสานและเผยแพร่บริการต่างๆ ช่วยผสานการเข้าถึงแบบต่างๆ จากทุกแพลตฟอร์มเพื่อยกระดับการเผยแพร่บริการที่ทำงานโดยมี AI เป็นหัวใจสำคัญ เมื่อนักพัฒนาผสานบริการของตนเข้ากับ HUAWEI Ability Gallery บริการนั้นจะสามารถเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ที่หลากหลายของหัวเว่ยได้ เช่น HUAWEI Assistant, HUAWEI Browser หรือ HUAWEI HiVoice
ปัจจุบัน กว่า 5,000 บริการจากนักพัฒนาภายนอกในประเทศจีนได้เชื่อมโยงกับ HUAWEI Ability Gallery
บริการเหล่านี้ทำงานร่วมกับแอปพลิเคชัน 117 แอปพลิเคชัน ใน 14 หมวด ทั้งนี้ HUAWEI Ability Gallery พร้อมเปิด
ให้ใช้งานทั่วโลกภายในเดือนธันวาคมศกนี้
ร่วมเติบโตไปด้วยกัน เป็นส่วนหนึ่งในนักพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนโดยหัวเว่ยได้แล้ววันนี้
หัวเว่ยได้แถลงก่อนหน้านี้ว่าหัวเว่ยกำลังดำเนินโครงการ HUAWEI Shining-Star Program โดยได้ลงทุนไปแล้วถึง 1พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้การสนับสนุนนักพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์มือถือทั่วโลก โดยโครงการ HUAWEI Shining-Star Program จะให้การสนับสนุนด้านการฝึกหัด การสนับสนุนนวัตกรรม และการสนับสนุนทรัพยากรทางการตลาดให้กับทั้งแอปพลิเคชันและบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง AI, AR/VR และ IoT โดยนักพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการจะได้รับงบประมาณสนับสนุนสำหรับการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ การเพิ่มจำนวนผู้ใช้งาน การตลาด และอื่นๆ อีกหลากหลายด้าน นอกจากนี้ หัวเว่ยจะจัดกิจกรรม HUAWEI Developer Day (HDD) ในหลากหลายเมืองทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก HDD นี้จะประกอบไปด้วยการจัดเวิร์คชอป การวิเคราะห์เทรนด์ของเทคโนโลยี การนำเสนอกรณีศึกษา และข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับแวดวงอุตสาหกรรม ช่วยให้นักพัฒนาแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของอีโคซิสเต็มแบบเปิดของหัวเว่ย
ยิ่งไปกว่านี้ ห้องวิจัย DigiX Lab ในประเทศสิงคโปร์จะเปิดดำเนินการภายในต้นปี 2020 ห้องวิจัยแห่งนี้ประกอบไปด้วย HMS Core AR, VR, AI, CameraKit, HUAWEI Ability Gallery และทรัพยากรแบบเปิดอื่นๆ อีกมากซึ่งนักพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์มือถือสามารถอัพโหลดแอปพลิเคชันของตนมาที่ห้องวิจัยแห่งนี้เพื่อทำการทดสอบต่างๆ ได้ผ่านทางไกล สำหรับนักเรียนนักศึกษา หัวเว่ยยังมีโครงการบ่มเพาะบุคลากรชื่อ DigiX Geek Contest อันเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการ HUAWEI Shining-Star Program สำหรับนักศึกษาฝึกงานด้าน AI และทูตประจำสถานศึกษา ในการนี้ หัวเว่ยพร้อมให้การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมใหม่โดยนักพัฒนารุ่นเยาว์เพื่อเติมเต็ม HUAWEI Ecosystem อย่างต่อเนื่อง “HMS จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับความสัมพันธ์ระหว่างหัวเว่ยและพันธมิตรระดับแนวหน้าที่ต้องการจะสร้างโลกแห่งอนาคตซึ่งทุกสิ่งเชื่อมโยงกัน หัวเว่ยจะมุ่งมั่นพัฒนาและสนับสนุนนวัตกรรมแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์มือถือและนำเสนอเนื้อหาคุณภาพสู่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง” คุณจางกล่าวสรุป
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://consumer.huawei.com/en/mobileservices/
# # #
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมของ หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (ประเทศไทย) ได้ที่:
Website: http://consumer.huawei.com/th
Facebook: http://www.facebook.com/HuaweiMobileTH
LINE: HuaweiMobileThailand, IG: Huawei.TH
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:
หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (ประเทศไทย)
นภัสกร บริสุทธิ์สวัสดิ์ (ฮอลล์)
ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์
หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (ประเทศไทย)
โทร 062 442 2683 อีเมล halls.napatsakorn@huawei.com
เวิรฟ
กัลปพฤกษ์ เตชะศรีสุขโข (บูม) อีเมล์ Kanlapaphruek.techasrisukho@vervethailand.com โทร. 0-2204-8215
พรชนันท์ ยามะรัต (กิฟท์) อีเมล์ Pornchanan.yamarat@vervethailand.com โทร. 0-2204-8223
เสริมสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตให้ธุรกิจด้วย HUAWEI Ecosystem
หัวเว่ยนำเสนอ HUAWEI Ecosystem เพื่อการก้าวเข้าสู่ยุค AI อย่างสมบูรณ์แบบ
ในงาน APAC HUAWEI Developer Day
Huawei Mobile Services (HMS) ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจกว่า 150 ราย ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจัดงาน APAC HUAWEI Developer Day (AHDD) เป็นครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสนี้หัวเว่ยประกาศวิสัยทัศน์ในการสร้างอีโคซิสแบบเปิดซึ่งช่วยให้การใช้ชีวิตของผู้ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้นในทุกขณะและเชื่อมโยงผ่านเทคโนโลยีอันล้ำสมัยเข้ากับทุกอุปกรณ์หรือบริการได้อย่างราบรื่น เช่น HMS ซึ่งเป็นบริการแบบเปิด สมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ของหัวเว่ย เครือข่าย 5G และแอปพลิเคชันที่ทำงานโดยใช้คุณสมบัติของ AI เป็นหัวใจสำคัญ
หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ยังเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่องในตลาดโลก ปัจจุบันหัวเว่ยเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอันดับ 2 ของโลก โดยมียอดจัดส่งสมาร์ทโฟนระหว่างเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2019 มากกว่า 200 ล้านเครื่อง นอกจากนี้ยอดจัดส่งผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเติบโตขึ้น 214% จากปีก่อน อุปกรณ์สมาร์ทออดิโอเติบโตขึ้น 233% จากปีก่อน และ Wearable Devices ได้ก็มีอัตราการเติบโตขึ้น 272% จากปีก่อน
จาง ผิงอัน ประธานกลุ่มธุรกิจ Huawei Consumer Cloud Service กล่าวว่า “ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำเสนอ HUAWEI Ecosystem เนื่องจากเราเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมมาตลอด 3 ทศวรรษ หัวใจสำคัญของ HUAWEI Ecosystem คือ HMS และระบบนิเวศนี้ยังสอดคล้องกับกลยุทธ ‘1+8+N’ ของเราเมื่อพันธมิตรเลือกใช้แพลตฟอร์มของเราเพื่อการดำเนินธุรกิจ ลูกค้าจะสามารถสัมผัสนวัตกรรมดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบผ่านการใช้งานต่างๆ ในอีโคซิสเต็มของเรา”
สมาร์ทโฟนจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง (1) ตามหลักการของกลยุทธ ‘1+8+N’ และพันธมิตรทางธุรกิจของหัวเว่ยจะเข้าถึง ผู้ใช้ได้ผ่านอุปกรณ์ของหัวเว่ยจำนวน 8 กลุ่มเพื่อสร้างระบบ IoT ที่ทุกอุปกรณ์เชื่อมโยงกันและรองรับบริการต่างๆ ได้นับอนันต์ (N)
“เพื่อประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด HMS จะเป็นเสมือนตัวกลางและเครื่องมือจัดการอุปกรณ์ แอปพลิเคชัน
และโปรไฟล์ของผู้ใช้หรือบริการต่างๆ ใน HUAWEI Ecosystem ทั้ง HUAWEI Ecosystem และ HMS จะสามารถช่วยให้แนวคิดการใช้ชีวิตโดยมี AI เป็นองค์ประกอบสำคัญในทุกขณะเป็นจริงได้เมื่อใช้งานร่วมกับเครือข่าย 5G ที่ทำงานโดยใช้อุปกรณ์ระบบของหัวเว่ย รวมไปถึงระบบที่มี AI ในการควบคุมและ Cloud computing solution” คุณจางกล่าวเพิ่มเติม
HUAWEI Ecosystem เป็นระบบนิเวศที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของ HMS ในตลาดโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้ HMS กว่า 570 ล้านคนใน 170 ประเทศทั่วโลก ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2019 บริการ HUAWEI AppGallery มีผู้ใช้งานรายเดือน ทะลุ 390 ล้านคนและมียอดดาวน์โหลดรวมถึง 180,000 ล้านครั้งภายใน 1 ปีหลังจากเปิดบริการสู่ผู้ใช้ทั่วโลกเมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นักพัฒนากว่า 1.07 ล้านคนทั่วโลกลงทะเบียนเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้ HMS และมีแอปพลิเคชันกว่า 50,000 แอปพลิเคชันที่ผสานเข้ากับ HMS Core อย่างสมบูรณ์ สามารถทำงานได้กับสมาร์ทดีไวซ์ของหัวเว่ยทุกชิ้น
โดย HMS พร้อมนำเสนอบริการอีกมากในตลาดภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) เช่น HUAWEI ID, HUAWEI Mobile Cloud, HUAWEI AppGallery, Themes, HUAWEI Music และ HUAWEI Assistant
“หัวเว่ยมีแผนการดำเนินงานมากมายเพื่อรักษาการเติบโตและนำเสนอบริการใหม่ๆ ที่ทันสมัยให้กับพันธมิตรของเรา หัวเว่ยยังจะนำเสนอทรัพยากรต่างๆ เพิ่มอีกมากในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อช่วยเหลือนักพัฒนาและผู้ผลิตเนื้อหาต่างๆ ให้สามารถนำเสนอผลงานสู่ผู้ใช้ทั่วโลกได้” คุณจางกล่าวเสริม
ตัวอย่างของบริการจาก HMS ที่สามารถใช้งานได้ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกประกอบด้วย
HUAWEI AppGallery คือแพลตฟอร์มสำหรับเผยแพร่แอปพลิเคชันต่างๆ ของหัวเว่ยใน 170 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก มีผู้ใช้งานรายเดือนกว่า 390 ล้านคนนับตั้งแต่ที่ HUAWEI AppGallery เปิดให้ใช้งานทั่วโลกตั้งแต่เดือนเมษายน 2018 ที่ผ่านมา
HUAWEI Browser มีผู้ใช้รายเดือนกว่า 200 ล้านคน โดยนักพัฒนาสามารถนำเสนอบริการต่างๆ ผ่าน HUAWEI Browser ได้โดยตรงโดยใช้คุณสมบัติ HUAWEI Ability Gallery
HUAWEI Assistant นำเสนอฟีดข่าวส่วนบุคคล การแจ้งเตือนนัดหมายในปฏิทิน และอื่นๆ อีกมากมาย โดยนักพัฒนาสามารถเชื่อมโยงบริการเข้ากับ HUAWEI Assistant ได้เพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานรายเดือนจำนวน 160 ล้านคน
HUAWEI Mobile Cloud จะใช้งานได้ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกภายในเดือนพฤศจิกายนศกนี้ โดยผู้ใช้งานจะได้รับพื้นที่บนคลาวด์ขนาด 5GB โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
Quick App ช่วยให้ใช้งานแอปพลิเคชันได้โดยไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลด ปัจจุบันมีนักพัฒนากว่า 2,500 รายที่ได้เชื่อมโยงบริการกับแพลตฟอร์มนี้ และมีแอปพลิเคชันถึง1,000 แอปพลิเคชันในตลาดประเทศจีนที่รองรับคุณสมบัตินี้ โดยในขณะนี้นักพัฒนาทั่วโลกสามารถใช้งาน Quick App IDE ได้แล้ว
ผสานการทำงานระหว่างชิปเซ็ต-อุปกรณ์-ระบบคลาวด์ ช่วยให้ภาคธุรกิจได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่าบน HMS
HMS เริ่มรองรับการผสานการทำงานระหว่างชิปเซ็ต-อุปกรณ์-ระบบคลาวด์สำหรับนักพัฒนาผ่านเว็บไซต์ HUAWEI Developer เพื่อเสริมสร้างการเติบโตของอีโคซิสเต็มอัจฉริยะ โดยนักพัฒนาได้รับอนุญาตให้เข้าถึงบริการต่างๆ สำหรับนักพัฒนา เช่น HMS Core, HMS Capabilities และ HMS Connect
คุณจางอธิบายว่า “การผสานการทำงานระหว่างชิปเซ็ต-อุปกรณ์-ระบบคลาวด์เป็นเครื่องมือที่ผสานการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเชื่อมโยงบริการของตนกับหัวเว่ยอีโคซิสเต็มได้อย่างสะดวก HMS ประกอบไปด้วยความสามารถในทุกสถานการณ์ที่พร้อมช่วยเหลือนักพัฒนาในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การพัฒนา การทดสอบ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการหารายได้ สำหรับหัวเว่ยอีโคซิสเต็ม นักพัฒนาแค่ผสานแอปพลิเคชันเพียงครั้งเดียวจะสามารถเผยแพร่ได้ในทุกแพลตฟอร์มบนทุกสมาร์ทดีไวซ์ของหัวเว่ย เพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานทั่วโลกได้ หัวเว่ยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบริการของเราจะช่วยอำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาสามารถทุ่มเทให้กับการพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างเต็มที่และสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อช่วยยกระดับแพลตฟอร์มแบบเปิดของเราไปอีกขั้น”
HMS Core เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกรอบการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานกับอุปกรณ์ของหัวเว่ยได้ โดยชุดอุปกรณ์พัฒนาซอฟต์แวร์นี้จะช่วยย่นระยะเวลาและลดงบประมาณในการพัฒนา
แอปพลิเคชันได้
ในงาน AHDD นี้ หัวเว่ยประกาศว่าปัจจุบันมี HMS Core 24 ชุด บริการ 55 บริการ และ API 997 ตัว
ที่นักพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะสามารถใช้งานได้ภายในปี 2020 ตัวอย่างของ HMS Core ชุดใหม่คือ Map Kit, Location Kit, Awareness Kit, Scan Kit, Quick App และอื่นๆ อีกมากมายที่พร้อมจะครอบคลุมทุกความต้องการของนักพัฒนา
HMS Core ยังมีคุณสมบัติอีกมากสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการเพิ่มจำนวนผู้ใช้หรือเพิ่มรายได้จากบริการของตน ตัวอย่างเช่น ชุด Analytics Kit ที่หัวเว่ยภูมิใจนำเสนอล่าสุดพร้อมช่วยให้นักพัฒนาสามารถค้นหาข้อมูลเชิงลึกของแอปพลิเคชันที่ตนต้องการได้ ช่วยให้นักพัฒนาสามารถปรับปรุงแอปพลิเคชันของตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมี HUAWEI Map Kit ที่รองรับการทำงานใน 150 ประเทศและ 40 ภาษา ชุด HUAWEI Map Kit นี้ช่วยตรวจสอบข้อมูลสภาพถนนแบบเรียลไทม์ และช่วยให้การปรับแต่งข้อมูลแผนที่เป็นไปได้โดยง่าย
HUAWEI Ability Gallery เป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับการผสานและเผยแพร่บริการต่างๆ ช่วยผสานการเข้าถึงแบบต่างๆ จากทุกแพลตฟอร์มเพื่อยกระดับการเผยแพร่บริการที่ทำงานโดยมี AI เป็นหัวใจสำคัญ เมื่อนักพัฒนาผสานบริการของตนเข้ากับ HUAWEI Ability Gallery บริการนั้นจะสามารถเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ที่หลากหลายของหัวเว่ยได้ เช่น HUAWEI Assistant, HUAWEI Browser หรือ HUAWEI HiVoice
ปัจจุบัน กว่า 5,000 บริการจากนักพัฒนาภายนอกในประเทศจีนได้เชื่อมโยงกับ HUAWEI Ability Gallery
บริการเหล่านี้ทำงานร่วมกับแอปพลิเคชัน 117 แอปพลิเคชัน ใน 14 หมวด ทั้งนี้ HUAWEI Ability Gallery พร้อมเปิด
ให้ใช้งานทั่วโลกภายในเดือนธันวาคมศกนี้
ร่วมเติบโตไปด้วยกัน เป็นส่วนหนึ่งในนักพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนโดยหัวเว่ยได้แล้ววันนี้
หัวเว่ยได้แถลงก่อนหน้านี้ว่าหัวเว่ยกำลังดำเนินโครงการ HUAWEI Shining-Star Program โดยได้ลงทุนไปแล้วถึง 1พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้การสนับสนุนนักพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์มือถือทั่วโลก โดยโครงการ HUAWEI Shining-Star Program จะให้การสนับสนุนด้านการฝึกหัด การสนับสนุนนวัตกรรม และการสนับสนุนทรัพยากรทางการตลาดให้กับทั้งแอปพลิเคชันและบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง AI, AR/VR และ IoT โดยนักพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการจะได้รับงบประมาณสนับสนุนสำหรับการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ การเพิ่มจำนวนผู้ใช้งาน การตลาด และอื่นๆ อีกหลากหลายด้าน นอกจากนี้ หัวเว่ยจะจัดกิจกรรม HUAWEI Developer Day (HDD) ในหลากหลายเมืองทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก HDD นี้จะประกอบไปด้วยการจัดเวิร์คชอป การวิเคราะห์เทรนด์ของเทคโนโลยี การนำเสนอกรณีศึกษา และข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับแวดวงอุตสาหกรรม ช่วยให้นักพัฒนาแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของอีโคซิสเต็มแบบเปิดของหัวเว่ย
ยิ่งไปกว่านี้ ห้องวิจัย DigiX Lab ในประเทศสิงคโปร์จะเปิดดำเนินการภายในต้นปี 2020 ห้องวิจัยแห่งนี้ประกอบไปด้วย HMS Core AR, VR, AI, CameraKit, HUAWEI Ability Gallery และทรัพยากรแบบเปิดอื่นๆ อีกมากซึ่งนักพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์มือถือสามารถอัพโหลดแอปพลิเคชันของตนมาที่ห้องวิจัยแห่งนี้เพื่อทำการทดสอบต่างๆ ได้ผ่านทางไกล สำหรับนักเรียนนักศึกษา หัวเว่ยยังมีโครงการบ่มเพาะบุคลากรชื่อ DigiX Geek Contest อันเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการ HUAWEI Shining-Star Program สำหรับนักศึกษาฝึกงานด้าน AI และทูตประจำสถานศึกษา ในการนี้ หัวเว่ยพร้อมให้การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมใหม่โดยนักพัฒนารุ่นเยาว์เพื่อเติมเต็ม HUAWEI Ecosystem อย่างต่อเนื่อง “HMS จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับความสัมพันธ์ระหว่างหัวเว่ยและพันธมิตรระดับแนวหน้าที่ต้องการจะสร้างโลกแห่งอนาคตซึ่งทุกสิ่งเชื่อมโยงกัน หัวเว่ยจะมุ่งมั่นพัฒนาและสนับสนุนนวัตกรรมแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์มือถือและนำเสนอเนื้อหาคุณภาพสู่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง” คุณจางกล่าวสรุป
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://consumer.huawei.com/en/mobileservices/